เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10.โพชฌังควิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
[473] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา1 อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ 7 คือ
สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น
[474] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (1)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (2)
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (3)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ (4)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (5)

เชิงอรรถ :
1 ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. 277/271)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :362 }