เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10. โพชฌังควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ (5)
(สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ (6)
(อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (7)

โพชฌงค์ 7 นัยที่ 2
[468] โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[469] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน
ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน (1)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ
เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :359 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10. โพชฌังควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเพียรทางกายก็มี ทางใจก็มี ความเพียรทางกาย ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเพียรทางใจ ก็คือ
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (3)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึง
ปีติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (4)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
กายปัสสัทธิก็มี จิตตปัสสัทธิก็มี กายปัสสัทธิ ก็คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงจิตตปัสสัทธิ ก็คือ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ( 5)
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาธิที่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (6)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขาในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี อุเบกขาในธรรมภายใน
ตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงอุเบกขาในธรรมภายนอกตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :360 }