เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10. โพชฌังควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
10. โพชฌังควิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ 7 นัยที่ 1
[466] โพงฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ)
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา)

[467] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้
ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (1)
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (2)
(วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (3)
(ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ-
สัมโพชฌงค์ (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :358 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10. โพชฌังควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ (5)
(สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ (6)
(อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (7)

โพชฌงค์ 7 นัยที่ 2
[468] โพชฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[469] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน
ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน (1)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ
เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :359 }