เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [9.อิทธิปาทวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท 3 ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน อิทธิบาท 3 ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิต จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อิทธิบาท 3 ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
อิทธิบาท 3 เป็นภายนอก จิตติทธิบาทเป็นภายใน อิทธิบาท 4 ไม่เป็น
อุปาทายรูป
อิทธิบาท 4 กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ

11-13. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท 4 ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อิทธิบาท 4 ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
อิทธิบาท 4 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
อิทธิบาท 4 ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อิทธิบาท 4 ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
อิทธิบาท 4 ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อิทธิบาท 4 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
อิทธิบาท 4 ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี อิทธิบาท 4 ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อิทธิบาท 4 ไม่เป็นกามาวจร อิทธิบาท 4 ไม่เป็นรูปาวจร
อิทธิบาท 4 ไม่เป็นอรูปาวจร อิทธิบาท 4 ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อิทธิบาท 4 เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อิทธิบาท 4 ให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท 4 ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อิทธิบาท 4 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :357 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [10. โพชฌังควิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
10. โพชฌังควิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ 7 นัยที่ 1
[466] โพงฌงค์ 7 คือ

1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ)
7. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา)

[467] บรรดาโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้
ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (1)
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (2)
(วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (3)
(ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ-
สัมโพชฌงค์ (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :358 }