เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [9.อิทธิปาทวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิมังสาสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[442] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธาน-
สังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร
[443] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :347 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [9.อิทธิปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1. ฉันทิทธิบาท
2. อภิธรรมภาชนีย์
[444] อิทธิบาท 4 ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
2. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

1. ฉันทิทธิบาท
[445] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์1
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา2 อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[446] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 83-100/98,277/270 2 อภิ.สงฺ.อ. 277/271

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :348 }