เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8.สัมมัปปธานวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน

เพียรรักษาสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[419] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย
ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[420] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้น
เป็นความไม่เลอะเลือน ความไม่เลอะเลือนอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[421] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[422] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :336 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8.สัมมัปปธานวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พยายาม
[423] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[424] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[425] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
[426] บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :337 }