เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8.สัมมัปปธานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[401] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[402] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
[403] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดด้วยประการฉะนี้
[404] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :331 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8.สัมมัปปธานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[405] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
กุศลมูล 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้วด้วย
ประการฉะนี้
[406] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้นเป็น
ความไม่เลือนหาย ความไม่เลือนหายอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[407] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :332 }