เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8. สัมมัปปธานวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
[392] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด
ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[393] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พยายาม
[394] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[395] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[396] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น1 เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความมุ่งมั่นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มุ่งมั่น

เชิงอรรถ :
1 อรรถกถาขยายเป็น สาตัจจกิริยา หมายถึงการกระทำอย่างต่อเนื่อง (อภิ.วิ.อ. 390/310)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :329 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [8.สัมมัปปธานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
[397] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้วเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้
[398] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[399] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า พยายาม
[400] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :330 }