เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 1.ติกมาติกาวิสัชนา
3. ปัญหาปุจฉกะ
[386] สติปัฏฐาน 4 ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[387] บรรดาสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

1. ติกมาติกาวิสัชนา
1-22. กุสลติกาทิวิสัชนา
[388] สติปัฏฐาน 4 ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ*
สติปัฏฐาน 4 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สติปัฏฐาน 4 ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สติปัฏฐาน 4 กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
* ข้อความที่ละไว้ พึงดูในบทมาติกาของพระไตรปิฎกแปล เล่ม 34

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :324 }