เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สติปัฏฐาน

สติปัฏฐานอุทเทส
[380] สติปัฏฐาน 4 ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[381] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :321 }