เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และเหตุ
ที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ถีนมิทธะซึ่งมี
อยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉาซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือ
รู้วิจิกิจฉาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป

โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มี
อยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริยสัมโพชฌงค์
ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ
รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภาย
นอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[368] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า พิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :317 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
[369] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[370] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[371] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีสัมปชัญญะ
[372] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติ
[373] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ 5 ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :318 }