เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[366] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มีความ
เพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
จิตนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ 5 ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จิตตานุปัสสนานิทเทส จบ

4. ธัมมานุปัสสนานิทเทส
เห็นธรรมในธรรมภายในตน
[367] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของ
เรามีอยู่ หรือรู้กามฉันทะภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของเราไม่มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :314 }