เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับ
ไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ

3. จิตตานุปัสสนานิทเทส
เห็นจิตในจิตภายในตน
[365] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตของเรามีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจาก
ราคะว่า จิตของเราปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตของเรามีโทสะ หรือรู้ชัด
จิตปราศจากโทสะว่า จิตของเราปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตของเรามีโมหะ
หรือรู้ชัดจิตปราศจากโมหะว่า จิตของเราปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตของเรา
หดหู่ รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตเป็นมหัคคตะว่า จิตของเราเป็น
มหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตที่
เป็นสอุตตระว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตเป็นอนุตตระว่า จิตของเราเป็น
อนุตตระ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิว่า จิตของเราเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิ
ว่าจิตของเราไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตหลุดพ้นว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายนอกตน

เห็นจิตในจิตภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :312 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีราคะว่า จิตของเขามีราคะ หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากราคะ1ว่า จิตของเขาปราศจากราคะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
มีโทสะว่า จิตของเขามีโทสะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากโทสะว่า จิตของเขา
ปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีโมหะว่า จิตของเขามีโมหะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้น
ซึ่งปราศจากโมหะว่า จิตของเขาปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหดหู่ว่า จิตของ
เขาหดหู่ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งฟุ้งซ่านว่า จิตของเขาฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นมหัคคตะว่า จิตของเขาเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นมหัคคตะว่า
จิตของเขาไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นสอุตตระว่า จิตของเขาเป็นสอุตตระ
หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นอนุตตระว่า จิตของเขาเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นสมาธิว่า จิตของเขาเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นสมาธิว่า จิตของ
เขาไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหลุดพ้นแล้วว่า จิตของเขาหลุดพ้นแล้ว หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเขายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายในตนและภายนอกตน

เห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตมีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากราคะ
ว่า จิตปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากโทสะว่า
จิตปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ หรือรู้ชัดจิต ปราศจากโมหะว่า จิต
ปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ หรือรู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้ชัด
จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตไม่เป็น
มหัคคตะ รู้ชัดจิตที่เป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตที่เป็นอนุตตระว่า
จิตเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิว่า
จิตไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า จิตหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิตที่ยังไม่หลุด
พ้นว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

เชิงอรรถ :
1 คำว่า "จิตปราศจากราคะ" เป็นต้นในที่นี้หมายถึงโลกิยจิตที่เป็นกุศล 17 วิปากจิต 32 อเหตุกกิริยา-
จิต 2 เว้นหสิตุปปาทะ (อภิ.วิ.อ. 365/288)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :313 }