เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.เวทนานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายในตนและภายนอกตน

เห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็น
อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็น
ทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า
เป็นสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัด
ทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า
เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส หรือรู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและ
ภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
[364] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มี
ความเพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
เวทนานั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :311 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับ
ไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ

3. จิตตานุปัสสนานิทเทส
เห็นจิตในจิตภายในตน
[365] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตของเรามีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจาก
ราคะว่า จิตของเราปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตของเรามีโทสะ หรือรู้ชัด
จิตปราศจากโทสะว่า จิตของเราปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตของเรามีโมหะ
หรือรู้ชัดจิตปราศจากโมหะว่า จิตของเราปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตของเรา
หดหู่ รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตเป็นมหัคคตะว่า จิตของเราเป็น
มหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตที่
เป็นสอุตตระว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตเป็นอนุตตระว่า จิตของเราเป็น
อนุตตระ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิว่า จิตของเราเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิ
ว่าจิตของเราไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตหลุดพ้นว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายนอกตน

เห็นจิตในจิตภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :312 }