เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.เวทนานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายในตนและภายนอกตน

เห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็น
อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็น
ทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า
เป็นสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัด
ทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า
เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส หรือรู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและ
ภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
[364] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มี
ความเพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
เวทนานั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :311 }