เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 1. กายานุปัสสนานิทเทส
1. กายานุปัสสนานิทเทส
เห็นกายในกายภายในตน
[356] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งไม่สะอาดต่าง ๆ ว่า
ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายนอกตน

เห็นกายในกายภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายนอกตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดต่าง ๆ
ว่า ในกายของเขามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายในตนและภายนอกตน

เห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตนและภายนอกตน เบื้องบน
แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่
สะอาดต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :307 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 1.กายานุปัสสนานิทเทส
กระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอก
ตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[357] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พิจารณาเห็น
[358] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[359] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้า
ถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[360] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว
ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :308 }