เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 14.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา 1 มรณะ 1
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์
ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุสลมูลกวิปากนิทเทส จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :305 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [7.สติปัฏฐานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
7. สติปัฏฐานวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
[355] สติปัฏฐาน1 4 ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่
พิจารณเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้

เชิงอรรถ :
1 ที.ม. 10/373/248, ม.มู. 12/105-138/77-97

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :306 }