เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 1.รูปขันธ์
รูปละเอียด เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร1 นี้เรียกว่า รูปละเอียด
[6] รูปชั้นต่ำ เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่า
ยกย่อง เป็นชั้นต่ำ รู้กันว่าเป็นชั้นต่ำ สมมติกันว่าเป็นชั้นต่ำ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก
ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปชั้นต่ำ
รูปชั้นประณีต เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่
น่าตำหนิ น่ายกย่อง เป็นชั้นประณีต รู้กันว่าเป็นชั้นประณีต สมมติกันว่าเป็นชั้น
ประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
นี้เรียกว่า รูปชั้นประณีต
พึงทราบรูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
[7] รูปไกล เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่
ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปไกล2
รูปใกล้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ใกล้ ในที่ใกล้ชิด
ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปใกล้3
พึงทราบรูปไกล รูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/632-645/194-96
2 หมายถึงสุขุมรูป รูปละเอียด (อภิ.วิ.อ. 7/13)
3 หมายถึงโอฬาริกรูป รูปหยาบ (อภิ.วิ.อ. 7/13)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :3 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
2. เวทนาขันธ์
[8] บรรดาขันธ์ 5 นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง1 คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่
เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา
ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
[9] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต
เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น
อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ
อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต
เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน
[10] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 4 คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ.8/14)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :4 }