เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 11.อัพยากตนิทเทส
คำว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ สภาวะ
เหล่านี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลนิทเทส จบ

11. อัพยากตนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต 8
1. จักขุวิญญาณจิต
[306] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[307] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :280 }