เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 10.กุสลนิทเทส
[305] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
ในกุศลมูลเหล่านั้น อโลภะ ฯลฯ อโทสะ ฯลฯ อโมหะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า อโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :279 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 11.อัพยากตนิทเทส
คำว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ สภาวะ
เหล่านี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลนิทเทส จบ

11. อัพยากตนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต 8
1. จักขุวิญญาณจิต
[306] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[307] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :280 }