เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 9.อกุสลนิทเทส
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ แห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่
ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะสฬายตะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (4- 16)
อัญญมัญญจตุกกะ จบ

9. อกุสลนิทเทส
อกุศลจิตดวงที่ 2 - 4
[280] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิเกิดขึ้น ฯลฯ โดยมีเหตุ
ชักจูง สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :265 }