เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี นั้น นาม เป็นไฉน
เว้นผัสสะเสีย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า นาม
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (2-
14)
[276] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี แม้เพราะอายตนะที่
6 เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :259 }