เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า แม้
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความถือโดยวิปลาส
นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :256 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า แม้
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา 1 มรณะ 1
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า
ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกทำลาย ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง
ความหายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์
ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (1-
13)
[274] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :257 }