เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนาม
เป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี
แม้เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะอายตนะที่ 6
เป็นปัจจัย นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :255 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า แม้
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความถือโดยวิปลาส
นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :256 }