เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 7.สัมปยุตตจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เป็นไฉน
นาม 1 รูป 1
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและ
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ 6 ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี ได้แก่
นาม 1 รูป 1
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :253 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 8.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ 6 ที่สัมปยุตด้วยนาม
จึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
และอายตนะที่ 6 ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ 6 จึงมี
เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ 6 จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
(4-12)
สัมปยุตตจตุกกะ จบ

8. อัญญมัญญจตุกกะ
[272] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ 6 เป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[273] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :254 }