เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี1 ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี2 ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะ(กามาวจร)ก็มี ที่เป็นมหัคคตะ(รูปาวจรและอรูปาวจร)
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ(โลกุตตระ)ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี3
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ตรงกับบาลีว่า อาจยคามิ หมายถึงธรรมเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (อภิ.สงฺ.อ. 10/91)
2 ตรงกับบาลีว่า อปจยคามิ หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (อภิ.สงฺ.อ. 10/91)
3 อภิ.สงฺ.อ. 17/93

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :25 }