เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 6.เหตุจตุกกะ
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
(4-8)

เหตุจตุกกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :247 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 7.สัมปยุตตจตุกกะ
7. สัมปยุตตจตุกกะ
[264] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ 6 จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วย
ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[265] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :248 }