เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่เป็นสุขก็มี ที่เป็นทุกข์ก็มี เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
[35] เวทนาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี1 ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน 3 ก็มี2 ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน 3 ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน 3 ก็มี

เชิงอรรถ :
1 ตรงกับบาลีว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ.อ. 8/90)
2 ตรงกับบาลีว่า ภาวนาย ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 (อภิ.สงฺ.อ. 8/91)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :24 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 2.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี1 ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี2 ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะ(กามาวจร)ก็มี ที่เป็นมหัคคตะ(รูปาวจรและอรูปาวจร)
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ(โลกุตตระ)ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี3
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 ตรงกับบาลีว่า อาจยคามิ หมายถึงธรรมเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (อภิ.สงฺ.อ. 10/91)
2 ตรงกับบาลีว่า อปจยคามิ หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (อภิ.สงฺ.อ. 10/91)
3 อภิ.สงฺ.อ. 17/93

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :25 }