เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 5.ปัจจยจตุกกะ
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึก ความ
เห็นโลเล สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความถือรั้น ความถือผิด
จากความเป็นจริง ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :235 }