เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร สำเร็จด้วยทาน ศีล และ
ภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนาเป็น
จิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
[227] เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
[228] เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม 1 รูป 1
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
[229] เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ
นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :220 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[230] เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
[231] เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
[232] เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา
นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
[233] เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
[234] เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
ภพ 2 คือ กรรมภพและอุปปัตติภพ
ในภพ 2 นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมดเรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงมี
[235] เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :221 }