เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [5.อินทริยวิภังค์] 2.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ 12 ไม่สหรคตด้วยสุข อินทรีย์ 10 ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อินทรีย์ 12 ไม่สหรตด้วยอุเบกขา อินทรีย์ 10 ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อินทรีย์ 10 เป็นกามาวจร อินทรีย์ 3 ไม่เป็นกามาวจร อินทรีย์ 9 ที่เป็น
กามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
อินทรีย์ 13 ไม่เป็นรูปาวจร อินทรีย์ 9 ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจร
ก็มี
อินทรีย์ 14 ไม่เป็นอรูปาวจร อินทรีย์ 8 ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อินทรีย์ 10 นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ 3 ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์
9 ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ 11 ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ 10 ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ 10 ให้ผลไม่แน่นอน อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ให้ผลแน่นอน
อินทรีย์ 11 ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
อินทรีย์ 10 มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ 3 ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ 9
ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อินทรีย์ 15 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ โทมนัสสินทรีย์เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
อินทรีย์ 6 ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :218 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
6. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
[225] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[226] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา1
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร
และจิตตสังขาร2

เชิงอรรถ :
1 ม.มู. 12/103/74, สํ.นิ.16/2/4 2 อภิ.วิ.อ. 225/145,226/152-3

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :219 }