เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [5.อินทริยวิภังค์] 1.อภิธรรมภาชนีย์
สตินทรีย์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์1 (17)
สมาธินทรีย์ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์2 (18)
ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์3 (19)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่
เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบ
ธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ นี้เรียกว่า
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์4 (20)
อัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว
เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์5 (21)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/14/23 2 อภิ.สงฺ. 34/15/23 3 อภิ.สงฺ. 34/16/24
4 หมายถึงโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ. 34/296/88, อภิ.วิ.อ. 219/134)
5 หมายถึงโสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค (อภิ.สงฺ. 34/364/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :201 }