เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและ
สัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
นิโรธสัจไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มัคคสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ทุกขสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุ
และไม่มีเหตุก็มี

2. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ 3 มีปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ 3 ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ 3 เห็นไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
สัจจะ 3 กระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
สัจจะ 3 ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
สัจจะ 2 เป็นโลกิยะ1 สัจจะ 2 เป็นโลกุตตระ
สัจจะ 4 จิตบางดวงรู้ได้ สัจจะ 4 จิตบางดวงรู้ไม่ได้

3. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอาสวะ สัจจะ 2 ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจที่เป็นอาสวะก็มี ที่
ไม่เป็นอาสวะก็มี
สัจจะ 2 เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ 2 ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เชิงอรรถ :
1 สัจจะ 2 คือ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นโลกิยธรรม ส่วนอีก 2 คือ มัคคสัจและนิโรธสัจ เป็นโลกุตตรธรรม
(อภิ.วิ.อ. 215/132-133)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :187 }