เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม1 ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[208] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็น
อารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือและละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ 8 คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา
[209] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มใน อภิ.สงฺ. 34/160/50

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :176 }