เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาชีพ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาชีพ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา
[207] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :175 }