เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ1 (8)
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

2. อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[206] สัจจะ 4 คือ

1. ทุกข์ (ทุกข์)
2. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
3. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ 4 นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล 3 ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น
กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์2

เชิงอรรถ :
1 ม.อุ. 14/375/319, ขุ.ป. 31/36/42, อภิ.วิ. 35/487/282
2 ในอภิธรรมภาชนีย์ท่านยกทุกขสมุทัยขึ้นอธิบายก่อน (อภิ.วิ.อ. 206-214/130-131)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :173 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ 8
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
บรรดามรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต 4 การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต
4) สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต 3 การ
ไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต
3) สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :174 }