เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.มัคคสัจ
รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก
โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ใน
โลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้1
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

4. มัคคสัจ
[205] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้นั่นแล คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้
ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (1)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการ
ไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (2)

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ป. 31/34/41

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :171 }