เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.นิโรธสัจ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก
ชิวหาวิญญาณ ...ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ...ในโลก ชิวหาสัมผัส
... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อ
ละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่
เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิด
แต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา
... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหา
นี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนา
นี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ...
ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่
ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ...
ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :170 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 4.มัคคสัจ
รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก
โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ใน
โลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้1
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

4. มัคคสัจ
[205] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้นั่นแล คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้
ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (1)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการ
ไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (2)

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ป. 31/34/41

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :171 }