เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1.รูปขันธ์
2. อภิธรรมภาชนีย์
[32] ขันธ์ 5 คือ

1. รูปขันธ์ (กองรูป)
2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

1. รูปขันธ์
[33] บรรดาขันธ์ 5 นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ รูปทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ
มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของ
โยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจาก
จิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์
ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3 ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน 3 ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นสภาวะไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุ
นำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ 6 รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูก
ชราครอบงำ1
รูปขันธ์หมวดละ 1 มีด้วยอาการอย่างนี้2

เชิงอรรถ :
1 นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3 คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ. 83-100/97)
2 อภิ.สงฺ. 34/584/168-169,594/181

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :17 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 1.รูปขันธ์
ทุกนัย
ปกิณณกทุกะ
รูปขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี1 ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
รูปที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
รูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี
รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
รูปที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
รูปที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปที่ไกลก็มี ที่ใกล้ก็มี ฯลฯ
รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี2
รูปขันธ์หมวดละ 2 มีด้วยอาการอย่างนี้3
(ในที่นี้ก็พึงจำแนกรูปขันธ์ที่เหลือเหมือนในรูปกัณฑ์)
สุขุมรูปทุกะ จบ

เชิงอรรถ :
1 ตรงกับคำบาลีว่า อุปาทินฺน (อภิ.สงฺ.อ. 4/90)
2 คำว่า กวฬิงการาหาร หมายถึงอาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน (อภิ.สงฺ.อ. 645/388)
3 อภิ.สงฺ. 34/584/168-171

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :18 }