เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 2.สมุทยสัจ
ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก
เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธ-
สัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด
ก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ
ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก
ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้
เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธ-
ตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่
รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :168 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 3.นิโรธสัจ
รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ...
ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้1
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

3. นิโรธสัจ
[204] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความสำรอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ
ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่
ก็ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็
ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่
จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้
เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรม
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ป.31/34/41

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :169 }