เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ 4. สัจจวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
4. สัจจวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
[189] อริยสัจ1 4 คือ
1. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
2. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์)

1. ทุกขสัจ
[190] บรรดาอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์2 5 เป็นทุกข์3
[191] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ4

เชิงอรรถ :
1 ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้ (วิภงฺคมูลฏี.
189/58)
2 อภิธัมมัตถวิ. 227
3 วิ.ม. 4/14/14, ม.มู. 12/91/66, ม.อุ. 14/373/317, ขุ.ป. 31/33/38, อภิ.วิ.อ. 190/100
4 ที.ม. 10/387/261, ม.มู. 12/93/67, ม.อุ. 14/373/317, สํ.นิ. 16/2/3, ขุ.ป. 31/33/39,
อภิ.วิ. 35/235/163

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :163 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [4.สัจจวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 1.ทุกขสัจ
[192] ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา1
[193] มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ2
[194] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่
ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ3
[195] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้
ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่
พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ4

เชิงอรรถ :
1 ที.ม. 10/389/260, ม.มู.12/92/66-7, ม.อุ. 14/373/317, สํ.นิ. 16/2/3,27/41,28/42,33/55,
ขุ.ป. 31/33/39, อภิ.วิ. 35/236/163.
2 ที.ม. 10/390/260, ม.มู. 12/92/67, ม.อุ.14/373/318, สํ.นิ. 16/2/3,27/41,28/42,33/55,
ขุ.ม. 29/41/102, ขุ.ป.31/33/39, อภิ.วิ. 35/236/164
3 ขุ.ม. 29/44/106,97/210, ขุ.จู. 30/21/76, ขุ.ป. 31/33/39, อภิ.วิ. 35/237/164
4 ขุ.ม. 29/44/106,97/210, ขุ.จู. 30/21/76, ขุ.ป. 31/33/39, อภิ.วิ. 35/238/164

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :164 }