เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ 11 ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ 5 สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ 2
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ธาตุ 16 เป็นกามาวจร ธาตุ 2 ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
ธาตุ 16 ไม่เป็นรูปาวจร ธาตุ 2 ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ธาตุ 16 ไม่เป็นอรูปาวจร ธาตุ 2 ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
ธาตุ 16 นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ธาตุ 2 ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ 16 ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ธาตุ 2 ที่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ 16 ให้ผลไม่แน่นอน ธาตุ 2 ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ธาตุ 16 มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ธาตุ 2 ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่าก็มี
ธาตุ 16 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ธาตุ 2 ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี (13)

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :162 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ 4. สัจจวิภังค์] 1. สุตตันตภาชนีย์
4. สัจจวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
[189] อริยสัจ1 4 คือ
1. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
2. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์)

1. ทุกขสัจ
[190] บรรดาอริยสัจ 4 นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์2 5 เป็นทุกข์3
[191] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ4

เชิงอรรถ :
1 ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้ (วิภงฺคมูลฏี.
189/58)
2 อภิธัมมัตถวิ. 227
3 วิ.ม. 4/14/14, ม.มู. 12/91/66, ม.อุ. 14/373/317, ขุ.ป. 31/33/38, อภิ.วิ.อ. 190/100
4 ที.ม. 10/387/261, ม.มู. 12/93/67, ม.อุ. 14/373/317, สํ.นิ. 16/2/3, ขุ.ป. 31/33/39,
อภิ.วิ. 35/235/163

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :163 }