เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
ธัมมธาตุ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับ
เนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
บรรดาธัมมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (1)
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (2)
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ 1 ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ 2 ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :145 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
สังขารขันธ์หมวดละ 3 ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ 10 มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (3)
รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (4)
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะและเป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ
นี้เรียกว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง นี้เรียกว่า ธัมมธาตุ (5-17)
มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแห่งมโนธาตุ
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสต-
วิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแม้แห่งมโนธาตุ
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยภวังคจิตและธรรมารมณ์
เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ (18)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :146 }