เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
สัททธาตุ เป็นไฉน
สัททะ (เสียง) ใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ (5)
โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยโสตะ (หู) และเสียงเกิดขึ้น
นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ (6)
ฆานธาตุ เป็นไฉน
ฆานะ (จมูก) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ฆานธาตุ (7)
คันธธาตุ เป็นไฉน
คันธะ (กลิ่น) ใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ (8)
ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น นี้เรียก
ว่า ฆานวิญญาณธาตุ (9)
ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
ชิวหา (ลิ้น) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ (10)
รสธาตุ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารสธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ (11)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :143 }