เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
วิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก
อย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียนสัตว์ ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความรังแก
กิริยาที่รังแก ความเกรี้ยวกราด กิริยาที่กระทบกระทั่งอย่างรุนแรง ความเข้าไป
เบียดเบียนสัตว์อื่นเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ (3)
เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบ
ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดชื่อว่า เนกขัมมธาตุ (4)
อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
อัพยาบาท นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
ความมีไมตรี ความเจริญเมตตา ภาวะที่แผ่เมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-
เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นทางใจที่มีเมตตาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ (5)
อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริที่ประกอบด้วยอวิหิงสา
ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
กรุณา ความเจริญกรุณา ภาวะที่แผ่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
(ความหลุดพ้นทางใจที่มีกรุณาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ (6)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6
ประมวลย่อธาตุ 6 สามหมวดนี้เข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงเป็นธาตุ 18 ด้วย
อาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :141 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
2. อภิธรรมภาชนีย์
[183] ธาตุ 18 คือ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณธาตุ 4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ
7. ฆานธาตุ 8. คันธธาตุ
9. ฆานวิญญาณธาตุ 10. ชิวหาธาตุ
11. รสธาตุ 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ 14. โผฏฐัพพธาตุ
15. กายวิญญาณธาตุ 16. มโนธาตุ
17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

[184] บรรดาธาตุ 18 นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า จักขุธาตุ (1)
รูปธาตุ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
รูปธาตุ (2)
จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จักขุวิญญาณธาตุ (3)
โสตธาตุ เป็นไฉน
โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า โสตธาตุ (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :142 }