เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
วิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก
อย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียนสัตว์ ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความรังแก
กิริยาที่รังแก ความเกรี้ยวกราด กิริยาที่กระทบกระทั่งอย่างรุนแรง ความเข้าไป
เบียดเบียนสัตว์อื่นเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ (3)
เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบ
ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดชื่อว่า เนกขัมมธาตุ (4)
อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
อัพยาบาท นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
ความมีไมตรี ความเจริญเมตตา ภาวะที่แผ่เมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-
เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นทางใจที่มีเมตตาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ (5)
อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริที่ประกอบด้วยอวิหิงสา
ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
กรุณา ความเจริญกรุณา ภาวะที่แผ่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
(ความหลุดพ้นทางใจที่มีกรุณาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ (6)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6
ประมวลย่อธาตุ 6 สามหมวดนี้เข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงเป็นธาตุ 18 ด้วย
อาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :141 }