เมนู

[181] ธาตุ 6 อีกนัยหนึ่ง คือ

1. กามธาตุ 2. พยาปาทธาตุ
3. วิหิงสาธาตุ 4. เนกขัมมธาตุ
5. อัพยาปาทธาตุ 6. อวิหิงสาธาตุ

[182] บรรดาธาตุ 6 นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ1
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวนับเนื่อง
อยู่ในระหว่างนี้ ชั้นต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด
นี้เรียกว่า กามธาตุ (1)
พยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ2
อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาตในอาฆาตวัตถุ 10 ความอาฆาตที่รุนแรง
ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความพิโรธตอบ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก
ความกำเริบหนักขึ้น ความคิดร้าย ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายหนัก
ความที่จิตคิดพยาบาท ความที่จิตคิดประทุษร้าย ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่
โกรธ ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพยาบาท
กิริยาที่พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ (2)

เชิงอรรถ :
1 กามมี 2 คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกับกิเลสกามเป็นชื่อของกามวิตก ธาตุที่เกี่ยว
เนื่องกับวัตถุกามเป็นชื่อสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร (อภิ.วิ.อ. 181/80)
2 พยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของพยาบาทวิตก (อภิ.วิ.อ. 181/80)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :140 }