เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็น
สุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขธาตุ (1)
ทุกขธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขธาตุ (2)
โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ (3)
โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ (4)
อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ (5)
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมความ ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบคอบ ความไม่ใคร่ครวญ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความด้อย
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานะคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ (6)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :139 }


[181] ธาตุ 6 อีกนัยหนึ่ง คือ

1. กามธาตุ 2. พยาปาทธาตุ
3. วิหิงสาธาตุ 4. เนกขัมมธาตุ
5. อัพยาปาทธาตุ 6. อวิหิงสาธาตุ

[182] บรรดาธาตุ 6 นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ1
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวนับเนื่อง
อยู่ในระหว่างนี้ ชั้นต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด
นี้เรียกว่า กามธาตุ (1)
พยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ2
อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาตในอาฆาตวัตถุ 10 ความอาฆาตที่รุนแรง
ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความพิโรธตอบ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก
ความกำเริบหนักขึ้น ความคิดร้าย ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายหนัก
ความที่จิตคิดพยาบาท ความที่จิตคิดประทุษร้าย ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่
โกรธ ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพยาบาท
กิริยาที่พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ (2)

เชิงอรรถ :
1 กามมี 2 คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกับกิเลสกามเป็นชื่อของกามวิตก ธาตุที่เกี่ยว
เนื่องกับวัตถุกามเป็นชื่อสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร (อภิ.วิ.อ. 181/80)
2 พยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของพยาบาทวิตก (อภิ.วิ.อ. 181/80)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :140 }