เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มและช่องสำหรับของกิน
ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มไหลลงเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ
ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง
ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็น
ภายใน
อากาสธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออากาสธาตุที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ (5)
[178] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ (6)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6
[179] ธาตุ 61 อีกนัยหนึ่ง คือ

1. สุขธาตุ 2. ทุกขธาตุ
3. โสมนัสสธาตุ 4. โทมนัสสธาตุ
5. อุเปกขาธาตุ 6. อวิชชาธาตุ

[180] บรรดาธาตุ 6 นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 179/79

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :138 }