เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา1
ลมมีดโกน1 ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา
ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปเป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น ลม
ตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว
ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมปีกครุฑ ลมใบกังหัน
ลมพัดโบก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป
เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อวาโยธาตุที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ (4)
[177] อากาสธาตุ เป็นไฉน
อากาสธาตุมี 2 อย่าง คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอากาสธาตุ 2 อย่างนั้น อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภาย
ในตน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว

เชิงอรรถ :
1 ในอรรถกถาขยายว่า (สตฺถกวาตาติ สนฺธิพนฺธนานิ กตฺตริยา ฉินฺทนฺตา วิย ปวตฺตวาตา. ขุรก-
วาตาติ ขุเรน วิย หทยํ ผาลนกวาตา) คำว่า สตฺถกวาตา อธิบายว่า ลมที่พัดหมุนไป ประดุจตัดสิ่งที่
ต่อกันไว้ที่ผูกกันไว้ด้วยมีดโกน คำว่า ขุรกวาตา อธิบายว่า ลมที่เฉือดเฉือน ประดุจเฉือนหทัยด้วยมีด
อันคม (อภิ.วิ.อ. 176/77)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :137 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มและช่องสำหรับของกิน
ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มไหลลงเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ
ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง
ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็น
ภายใน
อากาสธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป 4 ไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออากาสธาตุที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ (5)
[178] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ (6)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 6
[179] ธาตุ 61 อีกนัยหนึ่ง คือ

1. สุขธาตุ 2. ทุกขธาตุ
3. โสมนัสสธาตุ 4. โทมนัสสธาตุ
5. อุเปกขาธาตุ 6. อวิชชาธาตุ

[180] บรรดาธาตุ 6 นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 179/79

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :138 }